
Thammasat University Research and Consultancy Institute
(TU-RAC)
รายชื่อพื้นที่ศึกษา
กรุงเทพมหานคร
เขตคลองเตย
กรุงเทพชั้นกลาง
เขตบางกะปิ
เขตบึงกุ่ม
เขตลาดกระบัง
เขตคลองสามวา
กรุงเทพชั้นนอก
ปทุมธานี
อำเภอเมืองปทุมธานี
อำเภอลำลูกกา
อำเภอสามโคก



เขตคลองเตยแบ่งพื้นที่เขตการปกครองเป็น 3 แขวง คือ
1. แขวงคลองเตย 7.069 ตารางกิโลเมตร
2. แขวงคลองตัน 1.728 ตารางกิโลเมตร
3. แขวงพระโขนง 3.519 ตารางกิโลเมตร
รวมพื้นที่เขต 12.316 ตารางกิโลเมตร
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตวัฒนาตั้งแต่แนวเขตทางรถไฟสายช่องนนทรีด้านตะวันออกติดถนนสุขุมวิทด้านเหนือไปทางทิศตะวันออกตามแนวขอบทางของถนนสุขุมวิท ด้านเหนือผ่านซอยสุขุมวิท 2 (ซอยนานาใต้) จนถึงบริเวณปากซอยสุขุมวิท 52 (ซอยศิริพร) ด้านเหนือ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตพระโขนง เริ่มจากบริเวณปากซอยสุขุมวิท 52 (ซอยศิริพร) ด้านเหนือ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามแนวขอบทางจนถึงบริเวณปลายซอยสวัสดีตัดผ่านทางด่วนเฉลิมมหานครผ่านแนวทางรถไฟเก่าสายปากน้ำ ผ่านชุมชนสวนอ้อยจรดกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่หลังชุมชนสวนอ้อยจรดกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจนถึงแนวทางเขตทางรถไฟสายช่องนนทรีด้านตะวันออก
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตยานนาวา เขตสาทรและเขตปทุมวัน ตั้งแต่แนวเขตทางรถไฟสายช่องนนทรีด้านตะวันออกติดแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศเหนือตามแนวเขตทางรถไฟสายช่องนนทรีด้านตะวันออกบรรจบ ถนนสุขุมวิทด้านเหนือ
ติดต่อสำนักงานเขต
เลขที่ 599 สามแยกกล้วยน้ำไท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
โทรศัพท์: 02-249-5002, 02-249-9705, 02-249-0071, 02-249-7778
โทรสาร: 02-249-0260
Website: http://www.bangkok.go.th/khlongtoei/index
E-Mail : klongtoei_district@yahoo.co.th
เขตสาทร

เขตสาทร ประกอบด้วย 3 แขวง คือ
1. แขวงทุ่งวัดดอน 3.343 ตารางกิโลเมตร
2. แขวงยานนาวา 2.464 ตารางกิโลเมตร
3. แขวงทุ่งมหาเมฆ 3.519 ตารางกิโลเมตร
เขตสาทร มีพื้นที่ 9.326 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในพื้นที่กลุ่มกรุงเทพใต้ พื้นที่เดิมเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเกษตร มีการทำสวนพืชผักผลไม้ แต่สภาพปัจจุบันได้กลายเป็น ชุมชนหนาแน่น เป็นศูนย์กลางย่านธุรกิจ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพธุรกิจ ค้าขายและรับจ้างทั่วไป พื้นที่เขตสาทรติดต่อกับหลายเขตและติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาบางส่วน โดยเริ่มจาก
- ทิศเหนือ จรดเขตบางรัก โดยมีแนวคลองสาทรเป็นแนวแบ่งเขต
- ทิศใต้ จรดเขตยานนาวา และเขตบางคอแหลม ส่วนใหญ่จะใช้แนวถนนจันทน์เป็นแนวแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก จรดเขตปทุมวัน และเขตคลองเตย โดยมีแนวถนนพระราม 4 และถนนเชื้อเพลิง เป็นแนวแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก จดแม่น้ำเจ้าพระยา
การแบ่งพื้นที่เขตรายละเอียดปรากฏตามแผนที่ แต่เดิมใช้แนวคลองลำรางสารธารณะ ลำปะโดงเป็นแนวแบ่งเขต ทำให้สภาพพื้นที่ไม่สามารถแยกแยะพื้นที่ได้ชัดเจน และไม่เหมาะสมกับการบริหารงาน การให้บริการประชาชน ตลอดจนบางครั้งอาจเป็นเหตุให้ มีข้อโต้แย้งในเรื่องพื้นที่แนวเขตได้ ทางกรุงเทพมหานครจึงได้มีการ พิจารณาที่จะแบ่งพื้นที่เขตใหม่ โดยยึดหลักเรขาคณิต คือ ใช้แนวถนน ซอย เป็นแนวแบ่งเขต จะทำให้ประชาชน สามารถแยกแยะพื้นที่ได้งานและชัดเจน เขตสาทรมีการคมนาคม ติดต่อกับพื้นที่เขตอื่นได้สะดวก เพราะมีถนนสายหลัก สายรอง และระบบทางด่วนพาดผ่าน ทำให้ประชาชนสัญจรไปมาได้สะดวก ถนนสายหลัก และสายรองประกอบด้วย ถนนสาทร ถนนพระราม 4 ถนนเจริญกรุง ถนนจันทน์ ถนนเซนต์หลุยส์ 3 (สาทร 11) ถนนนางลิ้นจี่ ถนนสาธุประดิษฐ์ ถนนเย็นอากาศ ถนนสวนพลู และซอยงามดูพลี เป็นต้น
ต่อมาได้มีการตัดถนนผ่านอีกหลายสาย ได้แก่ ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (ถนนเลียบคลองช่องนนทรี) ตัดจากถนนสุริวงศ์ ผ่านถนนสีลม ถนนสาทร ถนนจันทน์ ไปออกถนนพระราม 3 อีกสาย คือ ถนนเจริญราษฎร์ (ถนนสายเหนือ-ใต้) จากถนนสาทรใต้ผ่านใต้ทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วนบี ผ่านถนนจันทน์ ไปออกถนนพระราม 3 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่เขตสาทรยังมีระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วนบี พาดผ่านมีทางขึ้นทางลงที่ด่านถนนจันทน์ ด่านถนนสาทร และนอกจากนี้ มีเส้นทางของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTS) จากสถานีสะพานตากสิน (สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน) วิ่งขนานไปกับถนนสาทร เลี้ยวซ้ายตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ไปยังสถานีช่องนนทรี และเลี้ยวขวาเข้าถนนสีลม ไปยังสถานีสีลม ฉะนั้น จากเดิมที่เขตสาทร ได้มีปัญหาการจราจรติดขัด จึงมีความสะดวก และคล่องตัวในการเดินทางสัญจรมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีท่าเรือสาทร (อยู่ใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน) ซึ่งเป็นศูนย์การคมนาคมทางเรือที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร
ติดต่อสำนักงานเขต
59 ซอยจันทน์ 18/7 (ซอยเซนต์หลุยส์ 3) แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทรศัพท์: 0-2212-8112
โทรสาร: 0-2212-9161
Website: http://www.bangkok.go.th/sathon/index
E-Mail : sathon.bma@gmail.com (Web Admin.)

เขตบางกะปิ มีพื้นที่ในการปกครอง 2 แขวง คือ
1. แขวงคลองจั่น พื้นที่ 12.700 ตารางกิโลเมตร
2. แขวงหัวหมาก พื้นที่ 15.823 ตารางกิโลเมตร
เขตบางกะปิ มีพื้นที่ประมาณ 28.523 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพมหานคร สภาพภูมิประเทศทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มมีลำคลองไหลผ่าน ที่ราบค่อนข้างลุ่มมากอยู่บริเวณแขวงคลองจั่น มีแนวเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ
- ทิศเหนือ ติดต่อ เขตบึงกุ่ม
- ทิศตะวันออก ติดต่อ เขตสะพานสูงและเขตบึงกุ่ม
- ทิศตะวันตก ติดต่อ เขตวังทองหลาง เขตลาดพร้าว เขตห้วยขวาง
- ทิศใต้ ติดต่อ เขตสวนหลวงและเขตประเวศ
ติดต่อสำนักงานเขต
189 ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
โทรศัพท์: 0-2377-5494
โทรสาร: 0-2377-5494 ต่อ 5757
Website: http://www.bangkok.go.th/bangkapi/
E-Mail : Katebangkapi01@gmail.com

"เขตบึงกุ่ม" มีพื้นที่ทั้งสิ้น 81.12 ตารางกิโลเมตร เดิมรวมอยู่ในพื้นที่ของเขตบางกะปิ ได้รับการจัดตั้งเป็นเขตอย่างเป็นทางการเมื่อได้มีการแยกพื้นที่ปกครองออกจากเขตบางกะปิ เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2532 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกะปิ และจัดตั้งเขตบึงกุ่ม และ เขตลาดพร้าว ลงวันที่ 4 กันยายน 2532 เป็นต้นมา
เขตบึงกุ่มประกอบด้วยเขตการปกครอง 3 แขวง คือ
1. แขวงคลองกุ่ม
2. แขวงนวมินทร์
3.แขวงนวลจันทร์
ติดต่อสำนักงานเขต
999 ถนนเสรีไทย ซอยเสรีไทย 43แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่มกรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์: 02-364-7000
โทรสาร: 02-364-7349
Website: http://www.bangkok.go.th/buengkum/index
E-Mail : bkumweb@gmail.com


เขตคลองสามวา มีสภาพทั่วไปเป็นท้องทุ่ง มีคลองสามวาผ่านกลางพื้นที่และมีคลองซอยเชื่อมระหว่างคลองหลักเป็นก้างปลา ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกสิกรรม และเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 ในกรุงเทพมหานครรองจากเขตบางเขนตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือติดต่ออำเภอลำลูกกา (จังหวัดปทุมธานี) มีแนวคันนาแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดปทุมธานีเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออกติดต่อเขตหนองจอก มีคลองเก้า คลองแบนชะโด และคลองลัดตาเตี้ยเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ติดต่อเขตมีนบุรีมีคลองแสนแสบ คลองลำบึงไผ่ ซอยนิมิตใหม่8 (วีแสงชัย) ถนนนิมิตใหม่ ซอยนิมิตใหม่5 (เหมือนสวาท) คลองสามวา
ลำรางสามวา คลองเจ๊ก ลำรางโต๊ะสุข ถนนหทัยราษฎร์ ซอยหทัยราษฎร์ 29 อนันต์) ลำรางคูคต และคลองพระยาสุเรนทร์ 1เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตกติดต่อเขตคันนายาว เขตบางเขน และเขตสายไหม มีคลองบางชัน คลองคู้บอน คลองคู้ชุมเห็ด และคลองพระยาสุเรนทร์เป็นเส้นแบ่งเขต
ติดต่อสำนักงานเขต
111 ถนนเลียบคลองสอง แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 10510
โทรศัพท์: 0 2548 0326, 0 2548 0327
โทรสาร: 0 2548 0322
Website: http://www.bangkok.go.th/khlongsamwa/index
E-Mail : bma.samwa@gmail.com

เขตลาดกระบัง เป็นเขตการปกครองที่มีพื้นที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของกรุงเทพมหานคร (รองจากเขตหนองจอก) สภาพโดยทั่วไปเป็นท้องทุ่ง มีแหล่งชุมชนหนาแน่นทางทิศใต้และมีเขตนิคมอุตสาหกรรมทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่
เขตลาดกระบังตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือติดต่อเขตมีนบุรีและเขตหนองจอก มีคลองลำนายโส คลองสองต้นนุ่น ลำรางคอวัง ลำรางศาลเจ้า คลองตาเสือ แนวคันนาผ่านถนนคุ้มเกล้า ลำรางตาทรัพย์ คลองบึงใหญ่ คลองลำกอไผ่ คลองลำมะขาม คลองลำพะอง คลองกระทุ่มล้ม คลองลำตาอิน และคลองลำตาแฝงเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออกติดต่ออำเภอเมืองฉะเชิงเทรา (จังหวัดฉะเชิงเทรา) มีคลองหลวงแพ่งและคลองประเวศบุรีรมย์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ติดต่ออำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง และอำเภอบางพลี (จังหวัดสมุทรปราการ) มีแนวแบ่งเขตการปกครอง ระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตกติดต่อเขตประเวศและเขตสะพานสูง มีคลองตาพุก คลองแม่จันทร์ คลองบึงขวาง และคลองลาดบัวขาว เป็นเส้นแบ่งเขต
ติดต่อสำนักงานเขต
4 ซอยลาดกระบัง 15 ถ.ลาดกระบัง แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520
โทรศัพท์: 02-326-9149
โทรสาร: 02-326-8065
Website: http://www.bangkok.go.th/ladkrabang/index
E-Mail : ladkrabang-district@hotmail.com
กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศและเป็น "มหานคร" ที่เป็นศูนย์กลางความเจริญทุกด้าน โดยแนวนโยบายการพัฒนาระดับประเทศของภาครัฐ มุ่งเน้นขยายการพัฒนาด้านต่างๆ ไปในเขตจังหวัดปริมณฑลใกล้เคียง 5 จังหวัด คือ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม เนื่องจากพื้นที่ของความเป็นเมืองหลวงและกิจกรรมต่างๆ มีความต่อเนื่องกันจนเรียกได้ว่าเป็นเมืองเดียวกันในทุกด้าน
ในปี พ.ศ. 2544 กองควบคุมและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดกรงเทพมหานคร ได้จัดแบ่งเขตทั้ง 50 สำนักงานเขตออกเป็น 3 กลุ่ม ตามที่ตั้งของพื้นที่ ได้แก่่
1. เขตชั้นใน ประกอบด้วย 21 เขตปกครอง คือ พระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ปทุมวัน บางรัก ยานนาวา สาทร บางคอแหลม ดุสิต บางซื่อ พญาไท ราชเทวี ห้วยขวาง คลองเตย จตุจักร ธนบุรี คลองสาน บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ดินแดง วัฒนา
2. เขตชั้นกลาง ประกอบด้วย 18 เขตปกครอง คือ พระโขนง ประเวศ บางเขน บางกะปิ ลาดพร้าว บึงกุ่ม บางพลัด ภาษีเจริญ จอมทอง ราษฎร์บูรณะ สวนหลวง บางนา ทุ่งครุ บางแค วังทองหลาง คันนายาว สะพานสูง สายไหม
3. เขตชั้นนอก ประกอบด้วย 11 เขตปกครอง คือ มีนบุรี ดอนเมือง หนองจอก ลาดกระบัง ตลิ่งชัน หนองแขม บางขุนเทียน หลักสี่ คลองสามวา บางบอน ทวีวัฒนา
จังหวัดปทุมธานีตั้งอยู่ในภาคกลางประมาณเส้นรุ้นที่ 14 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศาตะวันออก อยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 2.30 เมตร มีเนื้อที่ประมาณ 1,525.856 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 953,660 ไร่ ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) เป็นระยะทางประมาณ 27.8 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง คือ
- ทิศเหนือติดต่ออำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน และอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอหนองแค และอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี
- ทิศตะวันออกติดต่ออำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก และ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ทิศตะวันตกติดต่ออำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม และอำเภอไทรยน้อย จังหวัดนนทบุรี
- ทิศใต้ติดต่อเขตหนองจอก เขตคลองสามวา เขตสายไหม เขตบางเขน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และอำเภอปากเกร็ด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

อำเภอเมืองปทุมธานี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี มีประชากรจำนวนกว่า 1.7 แสนคน ประกอบด้วยตำบล 14 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางปรอก, ตำบลบ้านใหม่, ตำบลบ้านกลาง, ตำบลบ้านฉาง, ตำบลบ้านกระแซง, ตำบลบางขะแยง, ตำบลบางคูวัด, ตำบลบางหลวง, ตำบลบางเดื่อ, ตำบลบางพูด, ตำบลบางพูน, ตำบลบางกะดี, ตำบลสวนพริกไทย และตำบลหลักหก นอกจากนี้อำเภอเมืองปทุมธานีเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการของจังหวัดปทุมธานีอีกด้วย อำเภอเมืองปทุมธานีเป็นอำเภอมีความหนาแน่นเฉลี่ยของประชากรสูงถึง 1,421 คนต่อตารางกิโลเมตร และมีความเจริญกระจายตัวอย่างทั่วถึงทั้งอำเภอ ตรงกลางอำเภอมีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลางอำเภอ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือติดต่ออำเภอสามโคก มีคลองบางโพธิ์เหนือ แนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คลองแม่น้ำอ้อม คลองเชียงรากใหญ่ คลองบางพูด คลองตาหลี และลำรางสาธารณะเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออกติดต่ออำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี และอำเภอลำลูกกา มีทางรถไฟสายเหนือ และคลองเปรมประชากรเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ติดต่อเขตดอนเมือง (กรุงเทพมหานคร) และอำเภอปากเกร็ด (จังหวัดนนทบุรี) มีคลองบ้านใหม่ แนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองบางตะไนย์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตกติดต่ออำเภอลาดหลุมแก้ว มีคลองตาทรัพย์ คลองบางโพธิ์ใต้ คลองใหม่ คลองพระมหาโยธา และคลองลัดเป็นเส้นแบ่งเขตผ่ากลาง



สามโคก เป็นอำเภอที่มีขนาดเล็กที่สุดของจังหวัดปทุมธานี มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่ากลางอำเภอ พื้นที่อำเภอสามโคกแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 11 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางเตย, ตำบลคลองควาย, ตำบลสามโคก, ตำบลกระแชง, ตำบลบางโพธิ์เหนือ, ตำบลเชียงรากใหญ่, ตำบลบ้านปทุม, ตำบลบ้านงิ้ว, ตำบลเชียงรากน้อย, ตำบลบางกระบือ, และตำบลท้ายเกาะ อำเภอสามโคกมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือติดต่ออำเภอลาดบัวหลวง อำเภอบางไทร และอำเภอบางปะอิน (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) มีคลองยายเข็ม คลองพระยาบรรลือ แนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองเชียงรากน้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออกติดต่ออำเภอคลองหลวง มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ติดต่ออำเภอเมืองปทุมธานี ลำรางสาธารณะ คลองตาหลี คลองบางพูด คลองเชียงรากใหญ่ คลองแม่น้ำอ้อม แนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองบางโพธิ์เหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตกติดต่ออำเภอลาดหลุมแก้ว มีคลองบางโพธิ์เหนือ คลองบางเตย และคลองลัดวัดบ่อเงินเป็นเส้นแบ่งเขต
อำเภอลำลูกกาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดปทุมธานี พื้นที่อำเภอลำลูกกาแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 8 ตำบล ได้แก่ ตำบลคูคต, ตำบลลาดสวาย, ตำบลบึงคำพร้อย, ตำบลลำลูกกา, ตำบลบึงทองหลาง, ตำบลลำไทร, ตำบลบึงคอไห, และ ตำบลพืชอุดม มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือติดต่ออำเภอธัญบุรี มีแนวเส้นขนานคลองรังสิตประยูรศักดิ์ไปทางทิศใต้ 1.6 กิโลเมตรเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออกติดต่ออำเภอองครักษ์ (จังหวัดนครนายก) และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว (จังหวัดฉะเชิงเทรา) มีคลองสิบสี่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ติดต่อเขตหนองจอก เขตคลองสามวา เขตสายไหม และเขตดอนเมือง (กรุงเทพมหานคร) มีแนวคันนาระหว่างจังหวัดปทุมธานีและกรุงเทพ คลองหกวา คลองสอง แนวรั้วหมู่บ้านการ์เด้นโฮมวิลเลจ แนวรั้วอนุสรณ์สถานแห่งชาติ แนวรั้วโรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพ แนวรั้วหมู่บ้านวังทอง และแนวรั้วบริษัทดอนเมืองพัฒนาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตกติดต่ออำเภอเมืองปทุมธานี มีคลองเปรมประชากร ถนนลูกรัง และทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต